8 การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การปฎิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

8 การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การปฎิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง การปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงถือเป็นสิ่งสำคัญในการในการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสะดวกในการใช้งานในการดำรงชีวิตและมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี โดยวันนี้ทาง SeniaCare มี 8 วิธีการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดูแลสามารถเตรียมความพร้อมและการดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องมากที่สุด 1.สถานที่ ควรจัดสถานที่ที่มีการถ่ายเทอาการที่สะดวก ถูกสุขอนามัย เพื่อเลี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่สะสมหากพื้นที่ไม่สะอาด และสถานที่ของผู้ดูแลและผู้ป่วยติดเตียง ควรมีความเหมาะสมในด้านการใช้งาน มีความเหมาะสมในเรื่องอุปกรณ์ พื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม เช่น พื้นที่เตียงและผู้ดูแล จัดให้สามารถมองเห็นกันได้ ภายในห้องควรมีห้องน้ำเพื่อความสะดวกในการชำระร่างกายและการอาบน้ำ พื้นควรเรียบเสมอกัน ไม่ควรยกให้สูง หรือถ้าเป็นพื้นที่สูงควรมีทางลาดสำหรับขึ้นลง 2.การนอน ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่สามารถพลิกตัวเองได้ หากอยูในท่าเดิมนานๆจะทำให้เกิดแผลกดทับ ในระยะแรกอาจทำให้แค่ผิวลอก แต่นานวันอาจลึกถึงกล้ามเนื้อด้านในรวมถึงกระดูก หากร่างกายปราศจากผิวปกคลุมแล้ว โอกาสติดเชื้อก็จะง่ายขึ้น วิธีการดูแลคือควรพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง จัดท่าที่เหมาะสมในการนอน และนอกจากนี้อาจมีการเลือกใช้ที่นอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียงมาใช้โดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้สบายมากยิ่งขึ้นและช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อีกด้วย 3.การรับประทาน ควรห้ามให้ผู้ป่วยนอนกิน ควรจัดท่ารับประทานอาหารให้นั่งตัวตรง ประมาณ 90 องศา หรือปรับเตียงขึ้นเท่าที่ผู้ป่วยทำได้โดยที่ไม่มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ในส่วนของอาหารควรเป็นอาหารเหลว อาหารอ่อน หรืออาหารชิ้นเล็ก เพื่อป้องกันการลำลักที่อาจทำให้เศษอาการหลุดเข้าไปในหลอดลมจนส่งผลให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ 4.การรักษาสุขภาพร่างกาย หากผู้ป่วยติดเตียงไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพทางด้านร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การสระผม การแปรงฟัน การตัดเล็บ การดูแลผิว รวมไปถึงการเลือกเสื้อผ้า การเปลี่ยนเสื้อผ้าทั้งการสวมและการถอด อาจจะทำให้ร่างกายได้รับเชื่อโรคได้โดยง่าย และเสี่ยงต่อการเป็นอันตรายหรือการติดเชื่อต่อสุขภาพได้ 5.ผู้ป่วยเจาะคอ เพื่อช่วยในการหายใจ อาจมีเสมหะไปอุดตันอยู่ในท่อได้ ดังนั้นผู้ดูแลควรล้างท่อในทุกป่วยเป็นประจำทุก1-2วัน และเนื่องจากท่อช่วยหายใจจะมีท่อในและท่อนอก ควรจำมีสำรองไว้เปลี่ยน เพื่อนำท่อออกมาล้าง โดยวิธีต้มฆ่าเชื้อด้วยน้ำต้มสุก ดูแลท่อหลอดลมให้อยู่กับที่ สังเกตอาการและฟังเสียงการทำงานของเครื่องช่วยหายใจอยู่เสมอ 6.การขับถ่าย การใส่สายสวนปัสสาวะเข้าไปในร่างกายนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่าย จึงควรเปลี่ยนสายสวนเป็นประจำทุก 2-4 สัปดาห์ หากพบว่ามีปัสสาวะสีขุ่นข้น หรือปัสสาวะไม่ออก ควรไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเปลี่ยนสายสวน ในการอุจจาระควรให้ถ่ายทุกวันถ้าเป็นไปได้ ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีกากใย เช่น ผักกาด คะน้า มะละกอสุก หรือน้ำส้ม ดูแลให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 2-2.5 ลิตร (ยกเว้นในบางรายที่แพทย์สั่งงดน้ำ) หากมีท้องผูกควรปรึกษาแพทย์เพื่อจ่ายยาระบายหรือยาเหน็บ ตามสมควร และในบางรายที่ท้องเสีย ควรสังเกตการณ์ถ่ายอุจจาระรวมด้วย 7.การใส่แพมเพิร์ส ผู้ดูแลควรมีการเลือกแพมเพิร์สหรือผ้าอ้อมผู้ใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ผู้ป่วยทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาดและป้องกันไม่ได้ได้รับเชื้อโรคต่างๆ หากผู้ป่วยไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองขับถ่าย ให้ผู้ดูแลคอยตรวจเช็คเป็นเปลี่ยนทำความสะอาดให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ 8.การกดทับ อาการแผลกดทับ เกิดจากการที่ผู้ป่วยติดเตียงที่นอนในท่าเดียวนานๆ โดยเฉพาะบริเวณก้นและหลังจะเกิดแผลกดทับได้มากที่สุด วิธีการดูแลคือ ควรใส่ใจและมีการพลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมง หากมีบาดแผลควรทำความสะอาดใช้สำลีชุบน้ำเกลือปราศจากเชื้อ เช็ดทำความสะอาดแผลอย่างเบามือ โดยวนจากด้านในออกด้านนอก จนห่างจากแผลประมาณ 1 นิ้ว ในกรณีที่มีโพรงใช้กระบอกฉีดน้ำเกลือปราศจากเชื้อ ทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง จนน้ำยามีสีใส แล้วใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำน้ำเกลือปราศจากเชื้อแล้ว ยัดลงในโพลงให้สนิท แล้วค่อยปิดแผลให้สนิท จากที่กล่าวมาเราสามารถสรุปได้ว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นไม่ได้เพียงดูแลแค่ด้านเดียว แต่เป็นการดูแลในทุกๆด้านแบบองค์รวม จะขาดด้านหนึ่งด้านใดไปไม่ได้ หากผู้ดูแลเข้าใจและเตรียมความพร้อม รู้วิธีการดูแลที่ถูกต้องก็จะสามารถดูแลให้ผู้ป่วยมีความสุขได้ และลดความเครียดทั้งตัวของผู้ดูแลและผู้ป่วยได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น