วิเคราะห์รูปแบบ การตั้งของอโรคยาศาลได้ 3 รูปแบบ แนวคิดการสร้าง โครงการซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ไทย ดร.สมัย เหมมั่น

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานประจําอโรคยาศาลกับการใช้ พื้นที่ในอดีต (พุทธศตวรรษที่ 18-20) ถือเป็นช่วงเวลาที่รุ่งเรืองท่ีสุดของอโรคยาศาล ช่วงเวลานี้เริ่มจากการ สถาปนาอโรคยาศาลท่ีสนองพระราชดําริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่งเสริม นโยบายการประกันสุขภาพกับการเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบมหายานไปทั่ว พระราชอาณาจักรของพระองค์ จนถึงช่วงเวลาหลังรัชสมัยของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ที่อโรคยศาลเริ่มขาดการดูแลและ สนับสนุนจากภาครัฐคือเมืองพระนคร จากการสํารวจภาคสนามอโรคยาศาล จํานวน 12 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้สามารถวิเคราะห์รูปแบบ การตั้งของอโรคยาศาลได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย พัฒนามาสู่ช่วงสมัยทวารวดีจน ได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามาในพ้ืนท่ีช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชุมชนโบราณในลักษณะน้ีจะมีขนาดของชุมชนขนาดกลางไปจนถึง ขนาดใหญ่ มีการตั้งถิ่นฐานมายาวนานต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์พบโครง กระดูกโบราณที่แสดงถึงการอยู่อาศัยในพื้นที่นี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน เริ่มแรกจะมีการนับถือศาสนาพุทธเถรวาท บางพื้นที่พบซากสถูปโบราณเป็น จํานวนมาก เช่น ที่นครจําปาศรีตั้งอยู่ใกล้กับกู่สันตรัตน์จ.มหาสารคาม พบ ซากโบราณสถานที่เป็นสถูปเจดีย์โบราณเป็นจํานวนมาก ต่อมาเมื่อวัฒนธรรม ขอมเข้ามาจึงเริ่มรับวัฒนธรรมพราหมณ์ฮินดูเข้ามาผสมผสานกับการนับถือ พุทธศาสนา พบว่าบางพ้ืนที่จะมีการสร้างเทวาลัยขึ้นภายในเมือง ชุมชนมีลักษณะแผนผังการตั้งเมืองเป็นรูปวงกลมหรือรูปวงรีสัณฐาน ของเมืองท่ียังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันในหลายพื้นท่ีมีการขุดคูน้ํารอบ เมืองเพ่ือใช้ในการเกษตรกรรมภายในชุมชน พบว่าการตั้งถิ่นฐานเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ดอน เมื่อชุมชนเร่ิมขยายตัวในช่วงเวลาต่อมาจึงมีการ กระจายการตั้งถิ่นฐานออกมาโดยรอบ บางพ้ืนที่มีการขุดคูนาล้ํ ้อมรอบเพ่ิมเติม จากของเดิมที่มีอยู่เดิม ชุมชนลักษณะนี้จึงเหมาะต่อการสร้างอโรคยาศาลเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชุมชนใหญ่ที่มีการตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน มีประชากร ในเมืองเป็นจํานวนมาก จึงมีความจําเป็นต่อการรักษาพยาบาล หากวิเคราะห์ ความสําคัญนัยยะทางการเมืองของพระเจ้าชัยวรมันท่ี 7 ชุมชนใหญ่ดังกล่าว เป็นพื้นท่ีที่มีความสําคัญทางยุทธศาสตร์หากได้รับประโยชน์จากนโยบายของ ส่วนกลางแล้วก็จะทําให้เกิดการสร้างความเป็นเป็นปึกแผ่นของอาณาจักรของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้อย่างมั่นคงขึ้น หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 53 2. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณที่เริ่มมีการตั้งถ่ินฐานขึ้นในช่วง วัฒนธรรมขอมรุ่งเรือง ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 พบว่าชุนชนในลักษณะนี้จะมีขนาดของชุมชนทั้งขนาดกลางไปจนถึง ขนาดใหญ่ มีประชากรเป็นจํานวนมาก มีการสร้างปราสาทหรือเทวาลัยใน เขตพื้นท่ีเมือง บางพื้นท่ีมีการสร้างมากกว่าหนึ่งหลัง ขนาดและรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมของเทวาลัยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามความนิยมของ ยุคสมัยที่สร้าง บางพื้นท่ีมีรูปแบบการสร้างที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากช่างหลวง จากเมืองพระนครโดยตรง แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของเมืองนั้นๆ แต่บาง พื้นท่ีมีรูปแบบศิลปะพื้นถิ่นเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมช่างหลวงซึ่งอาจเป็น เมืองบริวาร แรกเริ่มประชาชนจะนับถือศาสนพราหมณ์ฮินดูที่ได้รับการ เผยแพร่มาจากเมืองพระนครทั้งโดยตรงและโดยอ้อม พบว่ามีบางแห่งมีการ สร้างรูปเคารพทางศาสนาพราหมณ์เป็นจํานวนมาก เช่น พื้นที่ชุมชนโบราณ เมืองต่ํา จ.บุรีรัมย์และชุมชนเมืองพิมาย จ.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจาก ความเชื่อด้านศาสนาแล้วยังมีการระบบชลประทานที่สําคัญของเมืองเพ่ือ หล่อเลี้ยงประชากรในเมือง มีการขุดสระนาหร ้ํ ือบารายขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บ น้ําไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือเพ่ือใช้ในการเกษตร พบว่ามีการศึกษาเรื่องการ ชลประทานอย่างเป็นระบบ ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีนโยบายการสถาปนาอโรคยาศาลทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้น การสร้างอโรคยาศาล ในพื้นที่ดังกล่าวจึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อที่ใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครองกับเมืองพระนคร อย่างใกล้ชิด การสร้างอโรคยาศาลตามชุมชนในลักษณะน้ีมักจะปรากฏว่า จะสร้างกระจายกันไปตามพ้ืนที่ต่างๆ ในระยะทางที่สามารถสัญจรได้สะดวก เพื่อที่จะทําให้สามารถรองรับการรักษาของประชาชนได้กว้างขวางมากขึ้น ดังท่ีเมืองพระนครจะพบว่ามีการสร้างอโรคยาศาลขึ้นบริเวณมุมทั้งสี่ของแนว กําแพงเมืองที่เมืองพระนครหลวง เพ่ือรองรับการรักษาของประชากรที่อยู่ ภายในเมืองหลวง และบริเวณด้านทิศใต้นอกเมืองพระนครหลวง ห่างกําแพง เมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ตรงเส้นทางสัญจรหลักที่เข้าสู่พระนครหลวง พบศาสนสถานประจําอโรคยาศาลอีกแห่งมีชื่อว่า ปราสาทตาพรหมเกล สร้าง ขึ้นเพื่อรองรับการรักษาของประชาชนในพื้นที่นครวัดและชุมชนโดยรอบเขา พนมบาแค็งที่เป็นราชธานีเดิมของอาณาจักรขอม ชุมชนในวัฒนธรรมขอมท่ีมีการวางผังที่เชื่อมโยงกับเมืองพระนคร หลวงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยพบตัวอย่างที่ชัดเจนอีกแห่ง คือท่ีเมืองพิมาย พบว่ามีการสร้างอโรคยาศาลคือกุฏิฤาษีขึ้นบริเวณทิศใต้นอก เมืองพิมาย ห่างประตูเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร ตรงเส้นทางหลักที่เข้าสู่ เมืองพิมาย เพื่อรองรับการรักษาประชาชนที่มาจากชุมชนโดยรอบ จากการ วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ตําแหน่งที่ต้ังของอโรคยาศาลในกลุ่มนี้ 54 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 มักจะตั้งในพ้ืนที่ที่ใกล้กับชุมชน หรือใกล้กับเทวาลัยที่สําคัญของเมืองท่ีสร้าง มาก่อนหน้านี้พื้นท่ีตั้งจะต้องตั้งอยู่บริเวณทางสัญจรหลักท่ีสามารถเดินทาง จากชุมชนหรือพื้นท่ีโดยรอบได้โดยสะดวกเช่นกัน เช่น กุฏิฤาษีหนองบัวราย ที่ตั้งอยู่เชิงเขาพนมรุ้ง, กุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง ที่ใกล้กับปราสาทเมืองต่ํา จ.บุรีรัมย์และกู่โพนระฆัง ที่ใกล้กับกู่กาสิงห์จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น 3. ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองชุมทาง จุดเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรหลัก ทั้งทางบกและทางนา้ํ ชุมชนในลักษณะนี้เป็นชุมชนที่มีความสําคัญ แม้ว่าขนาดของชุมชน จะไม่มีขนาดใหญ่มากนักเม่ือเทียบกับ 2 รูปแบบแรกที่ผ่านมา แต่เป็นจุด เชื่อมต่อที่สําคัญที่สามารถเดินทางไปสู่ชุมชนต่างๆ ได้โดยสะดวก ส่วนใหญ่ เป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจาย มีการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ แต่ สามารถสัญจรไปมาหากันได้โดยสะดวก รูปแบบนี้บางพื้นที่จะเป็นชุมชน โบราณที่อยู่ร่วมสมัยตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ไปจนถึงสมัยพุทธศตวรรษท่ี 18 ที่มีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง เช่น พื้นท่ีปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิ และปราสาทโคกงิ้ว จ.บุรีรัมย์แต่บางพื้นท่ีก็เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นในช่วง พุทธศตวรรษท่ี 15-18 เช่น ชุมชนกู่ประภาชัย จ.ขอนแก่น และกู่คันธนาม จ.ร้อยเอ็ด จะพบว่าตําแหน่งท่ีตั้งของอโรคยาศาลในกลุ่มน้ีมักจะต้ังบริเวณทาง สัญจร หรือชุมทางหลักท่ีเชื่อมต่อไปสู่เมืองใหญ่ สามารถเดินทางเชื่อมระหว่าง อโรคยาศาลในแต่ละแห่งได้โดยสะดวก พบว่าไม่ค่อยอิงกับพื้นท่ีชุมชนหลัก มากเท่าท่ีควร สาเหตุสันนิษฐานได้ว่ามาจากเพื่อการกระจายความเจริญ และ ประสิทธิภาพในรองรับการรักษาพยาบาลไปสู่ชุมชนต่างๆ ได้โดยทั่วถึงตาม ปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในส่วนการวิเคราะห์การใช้พื้นที่อโรคยาศาล สามารถแบ่งพื้นท่ีใช้ สอยได้เป็น 2 ส่วน คือส่วนพ้ืนที่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาล พื้นที่นี้เป็น พื้นท่ีหลงเหลือให้เห็นมากที่สุดในปัจจุบัน ที่ประกอบไปด้วยปราสาทประธาน โคปุระ บรรณาลัย กําแพงแก้ว กับพื้นท่ีส่วนท่ี 2 คือพ้ืนที่ส่วนรักษาพยาบาล ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนสระนาศ้ํ ักดิ์สิทธิ์เท่านั้น โรงเรือนรับรองต่างๆ พื้นที่ ส่วนนี้ไม่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน พื้นท่ีส่วนศาสนสถานประจําอโรคยาศาลถือเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญ ที่สุดในอโรคยาศาล เป็นการสร้างถวายแด่เทพที่ประดิษฐานภายใน จึงสร้าง ด้วยวัสดุที่คงทนถาวร เช่น ศิลาแลงและหินทราย เป็นต้น จากการสํารวจพื้นที่ กรณีศึกษาท้ัง 12 แห่งที่ผ่านมาพบว่า ในแต่ละแห่งนั้นมีรูปแบบสถาปัตยกรรม เทคนิคการก่อสร้าง รวมถึงขนาดของตัวศาสนาสถานประจําอโรคยาศาลที่ ต่างกันเล็กน้อย ทั้งหมดยังคงลักษณะรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การ สร้างอโรคยาศาลบางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างด้วยช่างจากเมืองพระนคร รูปแบบสถาปัตยกรรมก็จะมีลักษณะและลวดลายการแกะสลักที่สวยงามตาม หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 55 แบบฉบับช่างหลวง เช่น ที่ปรางค์กู่ จ.ชัยภูมิที่พบทับหลังศิลปะบายนรูปแบบ ใกล้เคียงกับที่ปราสาทพระขรรค์ในเมืองพระนคร และภาพแกะสลักบริเวณ หน้าบันปราสาทประธาน และอาคารบรรณาลัยที่เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวรและเรื่องราวพุทธประวัติมีเทคนิคการแกะสลักใกล้เคียงกับท่ี ปรากฏในอโรคยาศาลท่ีเมืองพระนครหลวง บางแห่งก็มีการสร้างผสมผสาน ไปกับลักษณะของท้องถิ่น แต่ยังคงรูปแบบมาตรฐานของศาสนสถานประจาํ อโรคยาศาลไว้อย่างครบถ้วน แม้จะไม่พบการแกะสลักลวดลายใดๆ ในตัว ปราสาทและอาคารประกอบเลยก็ตาม บางพื้นท่ีพบว่ามีการนําองค์ประกอบ ประดับอาคารที่มีรูปแบบสมัยที่อยู่ก่อนหน้านี้ไปใช้ในการก่อสร้างศาสนสถาน ประจําอโรคยาศาล เช่น ทับหลังสมัยบาปวนที่พบบริเวณปราสาทสระกําแพง น้อย จ.ศรีสะเกษ หรือนาคมุมศิลปะบาปวนประดับอยู่บริเวณเรือนธาตุตัว ปราสาทที่ปราสาทช่างปี่ จ.สุรินทร์และกุฏิฤาษีบ้านโคกเมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นต้น สันนิษฐานว่าองค์ประกอบดังกล่าวอาจถูกเคลื่อนย้ายมาจากพื้นที่ ปราสาทใกล้เคียงโดยรอบที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว แล้วนํามาติดต้ังใหม่ที่ ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลนั้น เพ่ือเป็นการประหยัดเวลาและความ สะดวกในการสร้าง

1 ความคิดเห็น:

  1. ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมทุนโครงการ
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด

    ตอบลบ