ความเป็นมาของ อโรคยศาลา

อาณาจักรขอมเคยเป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอุษาคเนย์ ศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายอยู่ในอาณาจักรขอมยกย่องกษัตริย์เป็นเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ เชื่อกันว่าเมื่อพระองค์สวรรคตดวงพระวิญญาณของพระองค์จะไปหลอมรวมกับเทพเจ้าที่พระองค์ทรงนับถือจึงมีธรรมเนียมในการสร้างปราสาทเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้าประดิษฐานรูปเคารพแทนพระองค์รวมถึงเทพเจ้าที่ตนนับถือไว้กลางเมือง และตกแต่งปราสาทด้วยลายรูปสัตว์ เทพประจำทิศ และเทวดาเพื่อให้ปราสาทเป็นรูปจำลองของจักรวาลและเขาพระสุเมรุ แนวคิดลัทธิ �เทวราชา� หรือการสถาปนากษัตริย์ให้มีฐานะดั่งเทพเจ้านี้ยังคงสืบทอดความเชื่อต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบัน แม้ว่าอาณาจักรต้นทางอารยธรรมจะเสื่อมสลายไปนานแล้ว
อาณาจักรขอมเคยเป็นรัฐที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคอุษาคเนย์ ศาสนาฮินดูซึ่งแพร่หลายอยู่ในอาณาจักรขอมยกย่องกษัตริย์เป็นเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ เชื่อกันว่าเมื่อพระองค์สวรรคตดวงพระวิญญาณของพระองค์จะไปหลอมรวมกับเทพเจ้าที่พระองค์ทรงนับถือจึงมีธรรมเนียมในการสร้างปราสาทเพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้าประดิษฐานรูปเคารพแทนพระองค์รวมถึงเทพเจ้าที่ตนนับถือไว้กลางเมือง และตกแต่งปราสาทด้วยลายรูปสัตว์ เทพประจำทิศ และเทวดาเพื่อให้ปราสาทเป็นรูปจำลองของจักรวาลและเขาพระสุเมรุ แนวคิดลัทธิ �เทวราชา� หรือการสถาปนากษัตริย์ให้มีฐานะดั่งเทพเจ้านี้ยังคงสืบทอดความเชื่อต่อเนื่องมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบัน แม้ว่าอาณาจักรต้นทางอารยธรรมจะเสื่อมสลายไปนานแล้ว กว่าจะเป็นปราสาทขอม โลกปัจจุบันต้องทึ่งกับภูมิปัญญาของนายช่างขอมโบราณในการสร้างปราสาทหินเพราะแม้แต่เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้โดยง่าย การก่อสร้างปราสาทต้องใช้ทั้งเวลาและแรงงานคนมหาศาล ทั้งยังมีกรรมวิธียุ่งยากซับซ้อน เริ่มตั้งแต่หาแหล่งตัดหิน เคลื่อนย้าย ก่อสร้างไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือสลักลวดลาย หินแต่ละก้อนที่เรียงต่อกันไม่มีตัวประสานแต่สามารถคงตัวอยู่ได้เนื่องจากใช้น้ำหนักของหินเป็นตัวกดทับ ส่วนที่ง่ายต่อการพังทลายจะทำการเบิกหินเป็นร่องแล้วนำเหล็กรูปตัว I หรือใกล้เคียงวางเชื่อม มักพบว่ามีการเจาะรูหินก้อนใหญ่ไว้ทั้งสองด้าน สำหรับตอกลิ่มไม้แล้วใช้เชือกผูกคล้องเพื่อยกหิน เมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างโครงสร้างหลักจึงเริ่มขั้นตอนแกะสลักลวดลาย ปราสาทใหญ่หลายหลังมักสร้างไม่เสร็จภายในรัชกาลเดียวมีการแกะสลักลายค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นนครวัด พนมรุ้ง เขาพระวิหาร รอยทางขอมบนเส้นทางสายพิมาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อารยธรรมขอมเจริญสูงสุดแผ่ขยายทั่วพื้นที่อีสานใต้ จากหลักฐานจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ระบุถึงพระราชกรณียกิจสำคัญของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ กษัตริย์ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของอาณาจักรขอมผู้สร้างนครธม กล่าวถึงการสร้างถนนเชื่อมระหว่างเมืองพระนครกับเมืองต่างๆที่เรียกกันว่า �เส้นทางราชมรรคา� ได้โปรดฯ ให้สร้างที่พักคนเดินทาง �บ้านมีไฟ�หรือ �ธรรมศาลา� รวมทั้งสิ้น ๑๒๑ แห่ง ควบคู่ไปกับ �อโรคยาศาล� หรือ �สถานพยาบาลชุมชน� จำนวน ๑๐๒ แห่ง หนึ่งในเส้นทางสายสำคัญนี้เชื่อมถึงพิมายระบุว่าที่พักคนเดินทางถึง ๑๗ แห่ง ระบบเส้นทางโบราณรวมถึงการสร้างอโรคยาศาลอาจเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในการแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองและเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายาน ขณะเดียวกันก็รวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง หลักฐานสิ่งก่อสร้างที่พบเหล่านี้อาจเป็นชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับเมืองพระนครอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการปกครองและความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ความเป็นมาของอโรคยศาลา กุฏิฤๅษีเมืองต่ำ บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ชานเมืองและมีสระน้ำ (บาราย) เล็กๆ ของตนเองแยกออกจาก "ทะเล" หรือบารายเมืองต่ำ น้ำที่ไหลมายังบารายหน้ากุฏิฤๅษีนี้ทดมาจากเขื่อนเชิงเขาและคลองที่ขุดขึ้นตั้งแต่สมัยอารยธรรมเขมร จากพุทธศตวรรษ ๑๒ ซึ่งเป็นยุคแห่งการสร้างชุมชนที่มีเทวาลัยในศาสนาฮินดูเป็นศูนย์กลางเมือง มาถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ผู้ทรงนับถือพุทธศาสนามหายาน จารึกปราสาทตาพรหมกล่าวไว้ว่าพระองค์ทรงโปรดให้มีการก่อสร้าง �อโรคยศาลา� ซึ่งเป็นสุขศาลาหรือโรงพยาบาลไว้ ๑๐๒ แห่งทั่วราชอาณาจักร และปัจจุบันได้พบจารึกมากกว่าสิบหลักทั้งในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ปรากฏข้อความทำนองเดียวกันกับจารึกปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ที่บ่งชี้ถึงลักษณะวิหารในโรงพยาบาลของพระองค์ไว้ว่า �พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลนี้ และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระคุรุ� โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะมีบุคลากรประจำประมาณ ๕๐ กว่าคน (จารึกปราสาทตาเมือนโต๊ด) ถึง ๙๘ คน (จารึกทรายฟอง ประเทศลาว) มีที่ดินกัลปนาและข้าทาสอีกจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับบริจาคให้ทำงานบนที่ดินและในโรงพยาบาล อโรคยศาลาจึงมีลักษณะเป็นชุมชนย่อยๆ ของตนเอง ประกอบด้วยวิหารพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะเป็นปราสาทศิลาแลงฉาบปูน ปั้นลาย และประดับด้วยหินทรายแกะสลักสวยงาม ซึ่งชิ้นส่วนศิลายังคงเหลือปรากฏหลักฐานเป็นซากอาคารให้เห็นในปัจจุบัน ปรางค์กู่ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ปรากฏผังยาวเป็นผืนผ้าแคบๆ อยู่ในเขตกำแพงแก้วด้านทิศใต้ของปราสาทประธาน ส่วนอาคารอื่นๆ เช่น เรือนนอน บ้านพักเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เรือนปรุงและเก็บยาต่างๆ น่าจะก่อสร้างด้วยไม้ จึงไม่หลงเหลือให้เห็น แต่น่าจะอยู่ในพื้นที่ติดกับวิหารนั้น เพราะมีการพบหินบดยาปรากฏอยู่ จากศิลาจารึกที่ระบุว่าอาคารนั้นเป็นอโรคยศาลาประกอบกับรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่เป็นแบบมาตรฐาน ปรากฏว่าอโรคยศาลา ที่ประกอบไปด้วยวิหารพระไภษัชยคุรุ มีตำแหน่งที่ตั้ง อยู่ ๓ ลักษณะ ดังนี้ ๑. ชานเมือง: บนเส้นทางเข้าเมืองหรือนอกเมือง ๒. ภายในตัวเมือง ใกล้กับเทวาลัยฮินดูที่มีมาก่อน ๓. กลางใจเมือง ๑. อโรคยศาลาชานเมือง: บนเส้นทางเข้าเมืองหรือนอกเมือง จารึกปราสาทพระขรรค์กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างอโรคยศาลา และ �บ้านมีไฟ หรือ ธรรมศาลา� เพื่อเป็นที่พักคนเดินทาง บนเส้นทางสายหลักในราชอาณาจักรจากเมืองพระนครหลวง ๓ สาย สายหนึ่งไปยังเมืองวิชัยปุระ เมืองหลวงของราชอาณาจักรจาม สายหนึ่งมายังเมืองพิมาย และอีกสายหนึ่งไปยังภาคกลางของประเทศไทย นครจำปาศรีหรือเมืองสระบัว อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นเมืองสำคัญสมัยก่อนประวัติศาสตร์ - ทวารวดี ศูนย์กลางลุ่มน้ำลำเตา ลำเสียวน้อย และลำพังชู ก่อนที่ชนชาวเขมรจะเผยแพร่อารยธรรมเข้ามาในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ดังปรากฏโบราณสถานศาลานางขาว และจารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ (พ.ศ.๑๖๒๓ - ๑๖๕๐) ภายในเมืองที่มีคูน้ำล้อม ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการสร้างกู่สันตรัตน์หรืออโรคยศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขึ้นนอกเมือง ซึ่งน่าจะเป็นย่านพักอาศัยของชนชาวเขมรทางทิศใต้ของเมือง ในขณะที่กลุ่มชนทวารวดีเดิมน่าจะอยู่ในพื้นที่กลางเมืองขึ้นไปด้านทิศเหนือ เมื่อตรวจสอบดูจากตำแหน่งปราสาทศิลาแลงและจารึกในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะพบว่ามีทั้งที่มีลักษณะเป็นอโรคยศาลาและธรรมศาลา (ปรางค์ศิลาแลงมีมุขด้านหน้ายาวออกมาเป็นห้องโถง มีช่องหน้าต่างเจาะทะลุไว้ด้านทิศใต้ด้านเดียว เช่น ปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ และปราสาทบ้านบุ จังหวัดบุรีรัมย์) โดยมีอโรคยศาลาตั้งอยู่บนเส้นทางเข้าเมือง ในตำแหน่งนอกกำแพงเมืองหรือชานเมือง และบนเส้นทางจาริกสัญจรมุ่งสู่เทวบรรพตสำคัญ หลายแห่งดังนี้ - กุฏิฤๅษี นอกกำแพงเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ห่างออกมา ๓๗๕ เมตร บนถนนราชมรรคาในอดีต ที่มุ่งเข้าสู่ประตูชัยของเมืองพิมาย มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ปราสาทเมืองเก่า ก่อนเข้าสู่พื้นที่เมืองโคราฆปุระ ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทเมืองแขก และปราสาทโนนกู่ ในศาสนาฮินดู มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - กุฏิฤๅษีเมืองต่ำ บ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ชานเมือง บนถนนสายหลักเชื่อมระหว่างปราสาทเมืองต่ำกับปราสาทพนมรุ้ง โดยอยู่ห่างประมาณ ๕๐๐ เมตรจากใจกลางเมือง มีปราสาทเมืองต่ำ เทวาลัยในศาสนาฮินดูเป็นศูนย์กลางชุมชนเขมร มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖ - กุฏิฤๅษี บ้านหนองบัวลาย เชิงเขาพนมรุ้ง บนเส้นทางขึ้นเขาพนมรุ้ง - ปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่บนเส้นทางจาริกผ่านช่องปราสาทตาเมือน เชื่อมระหว่างดินแดนเขมรต่ำและเขมรสูง จากเทวบรรพตปราสาทตาเมือนธม ไปยังเทวบรรพตปราสาทพนมรุ้ง - กู่สันตรัตน์ เมืองนครจัมปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นนอกเมือง ข้ามคูเมืองสมัยทวารวดี ภายหลังจากที่ชาวเขมรได้เข้าครอบครองชุมชนนี้ ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ดังปรากฏซากโบราณสถานและจารึกภาษาเขมรที่ศาลานางขาว บ้านพลสงคราม อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีวิหารพระวัชรสัตว์ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ - ทวารวดีเดิม และแสดงความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงแผนผังให้เป็นแบบเขมร โดยมีบารายเป็นตัวบ่งชี้ จากตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าว จึงดูเหมือนว่าในระยะแรก อโรคยศาลาถูกกำหนดให้ตั้งอยู่บนเส้นทางสายหลักเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางพื้นที่ระดับอนุภูมิภาคในละแวกนั้น และตั้งอยู่บนเส้นทางหลวงสายสำคัญในราชอาณาจักร คงเพื่อความสะดวกแก่ประชาชนผู้เดินทางสัญจร และเป็นที่น่าสังเกตว่า อโรคยศาลาที่มีลักษณะเป็นชุมชนเอกเทศของตนเอง มีที่ดินและข้าทาส รวมทั้งมีสระน้ำหน้าวิหารและบารายของตนเองนั้น อาจมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งในเชิงสุขอนามัยของการควบคุมโรคติดต่อ เนื่องจากในสมัยเขมร โรคที่ประชาชนเป็นกันมากคือโรคเรื้อน วัณโรค และระบบทางเดินอาหาร (บิด) ๒. อโรคยศาลาภายในตัวเมือง ใกล้กับเทวาลัยฮินดูที่มีมาก่อน : ศาสนาทางเลือกใหม่หรือการอยู่ร่วมกัน เมื่อการนับถือพระไภษัชยคุรุได้รับการส่งเสริมโดยกษัตริย์ ในชุมชนลำดับรองที่เป็นเมืองขนาดย่อมลงมา ซึ่งก็ยังมีการนับถือศาสนาฮินดูอยู่ ได้พบว่ามีการจัดตั้งวิหารพระไภษัชยคุรุบริเวณใจกลางเมือง ใกล้เคียงกับปราสาทฮินดูที่มีมาก่อนแล้ว การสร้างวิหารพระไภษัชยคุรุในลักษณะนี้ นอกจากจะหมายถึงมีการจัดตั้งโรงพยาบาลภายในชุมชนแล้ว น่าจะสะท้อนถึงนโยบายให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาทางเลือกใหม่หรือศาสนาคู่ขนานกับศาสนาฮินดูที่นับถือกันมาแต่เดิม ชุมชนเขมรที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยมีวิหารพระวัชรสัตว์เป็นศูนย์กลางชุมชนที่มีบารายหลายสระขุดไว้ใกล้เคียงกับเนินชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ - ทวารวดีซึ่งมีมาก่อน ชุมชนสายอารยธรรมเขมรที่พบวิหารพระวัชรสัตว์อยู่ภายในตัวเมือง เช่น - บ้านหมื่นชัย จังหวัดสุรินทร์ - บ้านปราสาทนางรำ จังหวัดนครราชสีมา - บ้านกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น ๓. อโรคยศาลากลางใจเมือง: พุทธยุทธศาสตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในขณะที่ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (Coedes, 1963: 100) ให้ความเห็นว่า การประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีพระนามว่า �พระชัยพุทธมหานาถ� ๒๓ พระองค์ตามเมืองสำคัญต่างๆ ที่ปรากฏชื่อในจารึกปราสาทพระขรรค์ เช่น เมืองลโวทยปุระ (ลพบุรี) เมืองสุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) เมืองชัยราชปุระ (ราชบุรี) เมืองศรีวัชระปุระ (เพชรบุรี) เมืองศรีชัยสิงหปุระ (เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี), เมืองศัมพูกปัฏฏนะ (อาจเป็นเมืองโกสินารายณ์ จังหวัดสุพรรณบุรี) เป็นการประกาศทั้งอำนาจทางการเมืองและการศาสนาของพระองค์ หากเราพิจารณาดูตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบมาตรฐานของอโรคยศาลาและการวางแผนผังเมืองในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จะพบว่า วิหารพระไภษัชยคุรุ ซึ่งอาจมีกำเนิดเริ่มแรกตามพระราชประสงค์ของพระองค์ เพียงให้เป็นวิหารประจำอโรคยศาลา เพื่อการบำบัดทุกข์บำรุงแก่ประชาชน ต่อมาได้เป็นเครื่องสะท้อนถึงพระราชอำนาจของพระองค์ที่แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งกว่ากษัตริย์เขมรพระองค์ใด และสร้างความเป็นบึกแผ่นของราชอาณาจักรของพระองค์ โดยทรงใช้พุทธยุทธศาสตร์เข้าปกครองชุมชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนทวารวดีเดิม หรือชุมชนที่พระองค์สถาปนาขึ้นใหม่ ซึ่งมักอยู่ใกล้เคียงกับชุมชนทวารวดีในละแวกนั้น วิหารพระวัชรสัตว์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจึงเป็นสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมและพระราชอำนาจของพระองค์ด้วย หลังการบูรณะ ปรางค์กู่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดูจะหลงเหลือร่องรอยการประดับลวดลายอยู่มากที่สุด ส่วนหน้าบันของอาคารบรรณาลัยยิ่งน่าสนใจ คือเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์เต็มทั้งแผ่น ดังจะเห็นได้จากการที่ประชากรชาวเขมรและเขตการปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ขยายตัวจากพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างไปทางทิศเหนือ จนครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด ได้มีเมืองเขมรใหม่ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ปกครองเดิม และที่กระจายตัวออกไปทั่วพื้นที่ภาคอีสาน ชุมชนเขมรที่ตั้งขึ้นใหม่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ นี้ ยังคงยึดคติการวางผังเมืองตามแนวนิยมดั้งเดิมของตน คือการสถาปนาศาสนสถานขึ้นกลางใจเมือง แต่หากแต่เปลี่ยนเทวาลัยในฮินดูคติเป็นพุทธสถานวิหารพระวัชรสัตว์แทน เช่น ได้มีการจัดตั้งเมืองเขมรใหม่ริมหนองหาน จังหวัดสกลนคร ให้เป็นเมืองศูนย์กลางอารยธรรมเขมรในพื้นที่แอ่งสกลนคร ในภาคอีสานตอนบน โดยมีเมืองหนองหานหลวงเก่าในศาสนาฮินดู ที่มีปราสาทดุมเป็นศูนย์กลาง มีปราสาทนารายณ์เจงเวง และปราสาทภูเพ็กเป็นเทวบรรพตอยู่ห่างออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร จากเมืองหนองหานหลวงที่ตั้งใหม่ ซึ่งมีปราสาทศิลาแลงเป็นศูนย์กลาง และมีกำแพงเมืองสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบ (ปัจจุบันปราสาทดังกล่าวมีการสร้างพระธาตุเชิงชุมครอบไว้) ชุมชนทวารวดีต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางลุ่มน้ำสาขาและเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนอื่นๆ ปรากฏการก่อสร้างวิหารพระวัชรสัตว์ขึ้นไว้กลางใจชุมชนนั้นหรือใกล้เคียงกัน เช่น - ปราสาทจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการสถาปนาวิหารพระวัชรสัตว์อยู่ติดกับเนินชุมชนสมัยทวารวดีที่ชาวเขมรเข้าปกครอง - บ้านพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พบปราสาทศิลาแลงสร้างบนเนินรูปกลมสมัยก่อนประวัติศาสตร ์- ทวารวดี และความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงแผนผังเมืองให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแบบเขมร โดยการก่อสร้างบารายไว้ด้านหน้าปราสาทพลสงคราม - กู่แก้ว บ้านหัวบึง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีการสร้างวิหารพระไภษัชยคุรุใกล้กับชุมชนทวารวดีที่กระจายตัวอยู่ริมพื้นที่ราบลุ่มทำนารอบแก่งน้ำต้อน ซึ่งเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ในระบบสาขาของแม่น้ำชี เป็นต้น หน้าบันปราสาทประธานเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เฝ้าแหนโดยเทพบริวาร ทับหลังเป็นรูปแบบศิลปะบายนอย่างชัดเจน อโรคยาศาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อโรคยศาลค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีจำนวน ๒๓ แห่ง คือ ๑.ปรางค์กู่ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง จังหวัดชัยภูมิ ๒.ปรางค์กู่ บ้านหนองแผก ตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ๓.ปราสาทสระกำแพงน้อย วัดบ้านทับกลาง ตำบลขะยูง อำเภออุทมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ๔.ปราสาทบ้านสมอ ตำบลบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ๕.ปราสาทบ้านปราสาท ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ๖.ปราสาทจอมพระ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ๗.ปราสาทช่างปี่ บ้านช้างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ๘.ปราสาทตาเมือนโต๊จ ตำบลบักได อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ๙.ธาตุสมเด็จนางพญา ตำบลหนองโสน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ๑๐.กู่ฤๅษี ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ๑๑.กู่ฤๅษี บ้านกู่ฤๅษี ตำบลทองหลางอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ๑๒.ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ตำบลปะคำกิ่งอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ๑๓.ปราสาทหนองกู่ บ้านหนองกู่ ตำบลมะอึก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๔.กู่โนนระฆัง ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๕.กุฏิ ฤๅษี ตำบลประตูชัย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ๑๖.ปราสาทนางรำ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ๑๗.ปรางค์ครบุรี บ้านครบุรี ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ๑๘.เมืองเก่า บ้านเมืองเก่า ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ๑๙.ปรางค์บ้านปรางค์ ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแกลง จังหวัดนครราชสีมา ๒๐.ปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น ๒๑.ปรางค์กู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมืองฯ จังหวัดมหาสารคาม ๒๒.กู่สันตรัตน์ จังหวัดมหาสารคาม ๒๓.ปราสาทบ้านพันนา อ. สว่างแดนดิน จ. สกลนคร รูปแบบสถาปัตยกรรมของอโรคยศาล จากจำนวนอโรคยศาลกว่า 30 แห่ง ที่มีการสำรวจและขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร พบว่าอาคารดังกล่าวคือศาสนสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญประจำอโรคยศาล รูปแบบของอโรคยศาลอาจสร้างขึ้นจากไม้ โดยอยู่ในบริเวณใกล้กับศาสนสถานที่สร้างขึ้นจากศิลาแลงที่พบหลักฐานในปัจจุบัน แผนผังของศาสนสถานประกอบด้วยปราสาทประธาน สร้างหันไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และมีโคปุระเป็นทางเข้าด้านเดียวทางทิศตะวันออก มักพบอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสันนิษฐานว่าเป็นบรรณาลัย อยู่ติดริมกำแพงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หันเข้าหาปราสาทประธาน และมีสระน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยมักอยู่ทางทิศตะวันออกบริเวณภายในหรือภายนอกกำแพงแก้ว รูปแบบดังกล่าวเป็นผังของศาสนสถานประจำอโรคยศาลที่พบทั่วไปในประเทศไทยซึ่ง เป็นอโรคยศาลขนาดเล็กประจำท้องถิ่น และสร้างขึ้นคล้ายคลึงกันในแต่ละชุมชน โดยมีรายละเอียดบางประการที่ต่างกันเล็กน้อยตามลักษณะพื้นที่ และวิธีการก่อสร้าง องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ปราสาทประธานของศาสนสถานในอโรคยศาลโดยทั่วไป เป็นปราสาทหลังเดี่ยวขนาดเล็ก สร้างจากศิลาแลงเป็นวัสดุหลัก และมีองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสลักจากหินทราย ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุมทั้ง 4 ด้าน เรือนธาตุเป็นมุข 4 ด้าน ด้านตะวันออกเป็นประตูทางเข้า พบภาพสลักหน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูสลักจากหินทราย ส่วนอีกสามด้านที่เหลือเป็นประตูหลอก มักพบการประดับทับหลังหินทราย ส่วนยอดเป็นชั้นหลังคาซ้อนกัน 5 ชั้น ประดับด้วยรูปสลักเทพประจำทิศต่างๆ และส่วนยอดบนสุดประดับด้วยรูปดอกบัวสลักจากหินทราย ที่มาจาก: หทัยทิพย์ วันดี . การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนสไลด์เทปโปรแกรม วิชาท้องถิ่นของเรา 1 เรื่อง �โบราณสถานสำคัญในจังหวัดสุรินทร์� สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2545 นิทรรศการ ไขความลับมนตราศิลาขอม เข้าถึงได้จาก http://www.tkpark.or.th/th/knwldzn/vst/vstexbtndtl.aspx?id=13385 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2551 ธาดา สุทธิธรรม . "ภูมิที่ตั้งอโรคยศาลา: ความสัมพันธ์กับบริบททางผังเมือง" . วารสารเมืองโบราณ. 2547,ฉบับที่ 30.3 สถาบันการแพทย์แผนไทย. "พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย์" เข้าถึงได้จาก http://ittm.dtam.moph.go.th/Service/WebMuseum/ThaiDev/page4.html เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551

2 ความคิดเห็น:

  1. ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมทุนโครงการ
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด

    ตอบลบ