ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ เมืองไทยเพิ่มสุข

โครงการ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ เมืองไทยเพิ่มสุข เพื่อสมาชิกสหกรณ์และประชาชนชาวไทยผู้ยากไร้ (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
โครงการเพื่อสมาชิกสหกรณ์และประชาชนชาวไทยผู้ยากไร้ และข้าราชการบำนาญทุกหน่วยงานพร้อมด้วยประชาชนทั่วไป เป็นโครงการที่ประกอบด้วยโครงการประเภทบ้านเดี่ยว สำหรับผู้มีกำลังซื้อมาก และประเภทคอนโดมิเนียม แบบโลว์ไรส์สูงไม่เกิน 8 ชั้นสถานที่ก่อสร้างที่ตั้งโครงการ ในทุก 77 จังหวัด จำนวน 880 unit ต่อโครงการ จำหน่ายราคาเริ่มต้น 1.5 ล้าน ถึง 4.5 ล้าน จำนวนพื้นที่ห้อง 30 ตารางเมตรถึง 60 ตารางเมตร เริ่มต้นและบริการฟรีให้กับผู้ด้อยโอกาสที่ขาดการดูแลอีก 20% สุทธิและการบริการนิติบุคคลประกอบด้วย ศูนย์รักษาสุขภาพ และนันทนาการ 20 กิจกรรมให้บริการสำหรับผู้สูงวัย ดร. สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบกิจการในจังหวัดนครปฐม และได้เล็งเห็นว่ารัฐบาลกำลังผลักดันและดำเนินโครงการประชารัฐด้านต่าง ๆเป็นจำนวนมาก บริษัทฯจึงมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเฉพาะด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัย
ลักษณะโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นที่พักสำหรับผู้สูงอายุ Active เปิดบริการจำนวน 880 unit บ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ส่วนที่ 2 เป็นที่พัก บริการผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม และศูนย์สุขภาพ ส่วนที่ 3 เป็น Compact จัดไว้ สำหรับผู้สูงอายุ Active สามารถรองรับ สมาชิกได้ถึง 1600 คน บริหารการจัดการโดย ดร.สมัย เหมมั่น ผู้ได้รับนโยบายจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ กรมกิจการผู้สูงอายุ พร้อมคู่มือการบริการที่ทันสมัยและพร้อมให้บริการแบบมืออาชีพ ภาคเอกชนร่วมกันเปิดโครงการก่อสร้างบ้านเพื่อผู้สูงวัยหลังเกษียณของสมาชิกครูและข้าราชการบำนาญ
แผนงานการก่อสร้าง แบ่งเป็น 5 ระยะ ระยะที่ 1 แผนงาน สร้างโมเดลโครงการ 7 จังหวัด ดังนี้ 1.จังหวัด สงขลา อ. หาดใหญ่ จำนวน 1,680 หน่วย อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เนื้อที่โครงการ 100 ไร่ (โครงการทะเลเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 2,520,000,000. บาท 2.จังหวัด เพชรบูรณ์ จำนวน 1,680 หน่วย อ.หล่มสัก-อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เนื้อที่โครงการ 200 ไร่ (มายโอโซนเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 2,520,000,000. บาท 3.จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 1,680 หน่วย ต.วังไทร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เนื้อที่โครงการ 60 ไร่ (มายโอโซนเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 2,520,000,000. บาท 4.จังหวัด อุทัยธานี จำนวน 1,680 อ.เมือง จ.อุทัยธานี เนื้อที่โครงการ 150 ไร่ (มายโอโซนเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 2,520,000,000. บาท 5.จังหวัด นนทบุรี จำนวน 1,680 หน่วย อ.บางใหญ่-อ.ไทรน้อย จ. นนทบุรีเนื้อที่โครงการ 30 ไร่ (วิลเลคโอโซนเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 3,320,000,000. บาท 6.จังหวัด สระบุรี น้ำตกเจ็ดสาวน้อย จำนวน 1,680 หน่วย อ.แก่งคอย-อ.หน้าพระลาน จ.สระบุรีเนื้อที่โครงการ 80 ไร่ (มายโอโซนเพิ่มสุข) ประมาณการโครงการ 2,520,000,000. บาท 7.จังหวัด นครปฐม บ้านเดียวและคอนโดมิเนียม จำนวน 1,680 หน่วย อ.สามพราน จ.นครปฐม เนื้อที่โครงการ 98 ไร่ (พุทธมณฑลสาย 4) ประมาณการโครงการ 5,520,000,000. บาท รวมงบประมาณ ทั้งสิ้น 21,440,000,000. บาท
ระยะที่ 2 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะที่ 3 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคเหนือ ระยะที่ 4 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 18 จังหวัด ภาคกลาง ระยะที่ 5 แผนงาน สร้างเชิงรุก โครงการ 16 จังหวัด ภาคใต้ ดร. สมัย เหมมั่น เป็นผู้ประกอบกิจการในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โดยมีผลงานในการก่อสร้าง และพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากด้วยประสบการณ์ ดำเนินการพัฒนาโครงการเพื่อผู้สูงวัยพร้อมให้การบริการเป็นอย่างดีและทั่วถึงในการให้บริการ ดร.สมัย เหมมั่น ประธานโครงการ
คณะบริหารโครงการ ดร. กิตศักดิ์ ประธารบริหารโครงการพัฒนาเขตเศษรฐกิจพิเพศ ดร.สมัย เหมมั่น ประธานโครงการ ซีเนี่ยคอมเพ็ลกซ์ นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล และคณะ บริหารร่วมบริษัท ร่วมค้า ดังนี้ 1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน 2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด...
“วิสัยทัศน์” มุ่งมั่นให้บริการอย่างมืออาชีพ ด้วยพนักงานคุณภาพ ผลงานมาตรฐาน เพื่อให้บริการแก่ผู้ยากไร้อย่างจิตอาสา ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า เสร็จตามเป้าหมาย ใช้เทคโนโลยีทันสมัยและก้าวหน้า มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
พันธกิจ “สร้างเพื่อความแข็งแกร่ง เรามุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นสถาบันก่อสร้างที่แข็งแกร่ง” “สร้างเพื่อพันธมิตรทางธุรกิจ เรามุ่งมั่นเพื่อเป็นผู้รับเหมาหลัก ที่ผู้รับเหมารายย่อยและคู่ค้าเลือกด้วยความเชื่อมั่น และไว้วางใจยินดีพร้อมก้าวหน้าไปด้วยกัน” “สร้างงาน เรามุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นประสิทธิภาพ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้พร้อมนำศักยภาพที่ดีที่สุดของตนเองมาใช้” “สร้างเพื่อสังคม เรามุ่งมั่นมอบผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดให้กับผู้ถือหุ้นด้วยการยึดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และสร้างสรรค์สังคมการเติบโตอย่างยั่งยืน” “สร้างเพื่อชุมชนและสังคม เรามุ่งมั่นเพื่อสนับสนุน และเสริมสร้างสิ่งที่ดีสู่ชุมชน และสังคมและความเท่าเทียมของสังคม ให้ได้รับการบริการที่ดี”
หลักการและเหตุผลของโครงการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค มีผลต่อการเขียนแผนธุรกิจ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ เมืองไทยเพิ่มสุข ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ในประเทศไทย ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการครองชีพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้ และการกระจายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยะกรรม การคมนาคมขนส่ง การค้าระหว่างประเทศ และการบริการแก่ประชาชนในดินแดนต่างๆของโลก โดยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ สนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความต้องการไม่จำกัดในด้านต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1.ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจประกอบด้วย 1.1 ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของแผ่นดิน ความสูงต่ำของผิวโลก ที่ราบลุ่มแม่น้ำ 1.2 ลักษณะภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะอากาศประจำถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อปัจจัย 4 ของมนุษย์ 2. กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก แบ่งเป็น 2.1 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง (Subsistence Economic Activities) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจแบบยังชีพ (Subsistence Economy) หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่แบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน 2.2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบการค้า หมายถึง สังคมที่สลับซับซ้อน เป็นลักษณะของประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งไทยในปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยกิจกรรมของมนุษย์ ความขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (ผลิตอะไร อย่างไร เพื่อใคร) ที่เกิดขึ้นในสังคมทำให้แต่ละสังคมต้องหาวิธีการแก้ไขเศรษฐศาสตร์จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาหนทางในการจัดสรรทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต (ที่ดิน ทุน แรงงาน และการประกอบการ) ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เศรษฐศาสตร์ (Economics) หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรอันมีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆในการสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คริสต์ศตวรรษที่ 18 การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างเป็นแบบแผนได้เริ่มขึ้น โดยผู้วางรากฐานและได้รับการยกย่องว่าเป็น ”บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์” คือ อดัม สมิท นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ โดยหนังสือชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ.1776 (พ.ศ.2319) ถือเป็นตำราเศรษฐศาสตร์เล่มแรกและยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมาจนถึงยุคปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์จุลภาค หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย หรือระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่มหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรือ เฉพาะบุคคล หรือหน่วยงานการผลิต ซึ่งแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับส่วนย่อย ๆของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ และ หน่วยรัฐบาล เศรษฐศาสตร์มหาภาค หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งระบบโดยรวม ได้แก่ รายได้ประชาติ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด การออม การลงทุน การจ้างงาน และการบริโภค รวมถึงการคลัง การค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์มหาภาค มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับรายได้และการจ้างงาน ในอดีตจึงเรียกว่า ทฤษฎีรายได้และการจ้างงาน สรุป เศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์มหาภาค ที่ศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศและระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ของเศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการครองชีพของมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้ และ การกระจายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยะกรรม การคมนาคมขนส่ง การค้าระหว่างประเทศ และการบริการแก่ประชาชนในดินแดนต่างๆของโลก โดยมีความสัมพันธ์กับเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งโดยทั่วไปมีความต้องการไม่จำกัดในด้านต่างๆ สรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1.1 ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของแผ่นดิน ความสูงต่ำของผิวโลก ที่ราบลุ่มแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์จะเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐาน การคมนาคมขนส่งสะดวก แต่ไม่ปลอดภัยจากการรุกราน แต่ที่ราบสูง ภูเขา จะ แห้งแล้ง การคมนาคมขนส่งไม่สะดวก ไม่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน แต่ปลอดภัยจากการรุกราน บริเวณที่ติดทะเลก็จะมีการประกอบอาชีพเกี่ยวกับทะเล เป็นต้น 1.2 ลักษณะภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะอากาศประจำถิ่นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อปัจจัย 4 ของมนุษย์ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค รวมทั้งการประกอบกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในเขตต่างๆ ของโลก เช่น เขตร้อนส่วนใหญ่ปลูกข้าวเจ้า ใส่เสื้อผ้าบาง มีฝนตกชุก ซึ่งมักจะปลูกอาคารบ้านเรือนมีหลังคาชันเพื่อใต้ถุนสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลสะดวกและไม่ขังบริเวณใต้ถุนบ้าน สำหรับกิจกรรมของประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยลักษณะลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศเข้าช่วย เช่น การทำนาข้าว ส่วนมากจะทำในฤดูฝน ส่วนการทำนาเกลือ การก่อสร้าง การทาสี ก็จะทำกันในฤดูแล้ง และลักษณะภูมิอากาศยังมีผลต่อสุขภาพและพลังงานในตัวมนุษย์หลายประการ เช่น ประชาชนในเขตร้อนจะเหนื่อยง่าย หอบเร็ว ทำงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง ต่างจากประชากรในเขตหนาวหรือ เขตอบอุ่นจะมีความขยัน อดทน กระตือรือร้นมากกว่า เป็นต้น
2. กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆของโลก แบ่งเป็น 2.1 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง (Subsistence Economic Activities) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเศรษฐกิจแบบยังชีพ (Subsistence Economy) หมายถึง ชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อน เช่น การเก็บหาของป่า การล่าสัตว์ การจับปลา การเพาะปลูก เพื่อการบริโภคเอง ไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เป็นลักษณะของชุมชนในอดีต หรือชนบทที่ห่างไกลความเจริญ 2.2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบการค้า หมายถึง สังคมที่สลับซับซ้อน เป็นลักษณะของประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งไทยในปัจจุบัน มนุษย์จะไม่ทำการผลิตสิ่งของที่ตนเองต้องการเองทุกอย่าง แต่จะแบ่งอาชีพกันทำตามความถนัด แล้วนำผลผลิตมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการค้า เป็นการประกอบอาชีพเพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังภูมิภาคต่างๆของโลก โดยอาศัยระบบการคมนาคมขนส่งให้สินค้าเข้าสู่ตลาดจะนำผลประโยชน์มาสู่สังคมที่เจริญ หรือระบบสังคมที่ซับซ้อน ตลอดจนทั้งเขตชุมชนและเมืองต่างๆทุกแห่งในโลกปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหาภาค มีผลต่อการเขียนแผนธุรกิจ ซีเนียร์คอมเพล็กซ์ ไทยเพิ่มสุข
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ 1.เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory) 2.เศรษฐศาสตร์มหาภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหาภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ ความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การเลือกการผลิต การบริโภค การดำรงชีพ และการปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆที่อยู่ในสังคมเดียวกันหรือต่างกัน ดังนั้นเศรษฐศาสตร์จึงเป็นวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่มนุษย์ที่มีผลมาจากการอยู่รวมกันในสังคมและมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งในการศึกษาและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการจัดระเบียบวิธีที่เกี่ยวกับมนุษย์จำเป็นที่วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องไปเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับวิชาอื่นๆในสังคมศาสตร์ เช่น การบริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ และอื่น ๆ 1.เศรษฐศาสตร์กับการบริหารธุรกิจ มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ในการศึกษาเศรษฐศาสตร์นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ผลิต เช่น การศึกษาทฤษฎีการผลิต ต้นทุนการผลิตและตลาด ฯลฯ จะเห็นได้ว่าแต่ละหัวข้อจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นกล่าวได้ว่าการบริหารธุรกิจส่วนหนึ่งเป็นการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือให้ได้รับกำไรสูงสุดและธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า 2.เศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่าแต่ละประเทศจะไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองได้หากประเทศไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่มีความมั่นใจจึงชะลอการลงทุนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ในทางกลับกันหากนักลงทุนมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมือง การลงทุนจะเพิ่มขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าปัญหาการเมืองกับปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาควบคู่กันไม่สามารถแยกจากกันได้ กล่าวคือ จะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันประเทศจึงจะมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ 3.เศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม และส่วนหนึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนั้นหากนักกฎหมายมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ย่อมจะเป็นผลดีต่อการตราหรือออกใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ ในทำนองเดียวกัน เนื่องจากกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์เองจำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้วย ทั้งนี้เพื่อการใช้กฎหมายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจจะได้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง 4.เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนหรือเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อย่างน้อยที่สุดประวัติศาสตร์จะเป็นกระจกที่สะท้อนให้เห็นถึงลำดับของเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อทุกสาขาวิชา รวมทั้งวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของการเรียนการสอนทางด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับมหาวิทยาลัย 5.เศรษฐศาสตร์กับจิตวิทยา เนื่องจากวิชาเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านจิตวิทยาจึงมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เพราะต่างก็ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การจะอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เช่น การเลือกบริโภคสินค้าของผู้ซื้อ ถ้ามีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาของมนุษย์ย่อมช่วยให้เข้าใจการกระทำบางอย่างของมนุษย์ได้ ในเวลาเดียวกันนักจิตวิทยาอาจนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ได้ 6.เศรษฐศาสตร์กับคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษากันอยู่ในปัจจุบันคือการศึกษาเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยคณิตศาสตร์และสถิติเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจต่าง ๆ หรือเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรทางเศรษฐกิจเหล่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น ๆ มากมายดังต่อไปนี้ 1. เศรษฐศาสตร์สัมพันธ์กับรัฐศาสตร์ การเมือง และกฎหมายอย่างใกล้ชิด ในสมัยก่อนเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์ว่า “เศรษฐศาสตร์การเมือง” เพราะการค้าเป็นกิจกรรมต่าง ๆ มักถูกรัฐบาลเข้าแทรกแซงเสมอ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็เช่นกัน และมีความสัมพันธ์กับกฎหมายในแง่ที่ว่าการออกกฎหมายบางเรื่องอาจเกิดขึ้นจากการพยายามที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายการค้ากำไรเกินควร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ เป็นต้น 2. เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินใจของนักธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการเลือกโครงการลงทุน การกำหนดปริมาณการผลิตและกำหนดราคาสินค้า จำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ รวมทั้งต้องเข้าใจถึงระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจ เพราะจะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง 3. เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับหลักจิตวิทยา เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในการตัดสินปัญหาเศรษฐกิจ ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาด้วย เช่น การตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วย 9,199,299,399 เป็นต้น เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้ามีราคาถูกโดยเฉพาะ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือการมีของแถมให้กับผู้บริโภคถ้าซื้อปริมาณมาก เป็นต้น 4. เศรษฐศาสตร์กับภูมิศาสตร์ การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ต้องเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากร ดิน ฟ้า อากาศ ตลอดจนที่ตั้งของหน่วยเศรษฐกิจหรือประเทศต่าง ๆ ดังนั้นความรู้ทางภูมิศาสตร์จึงสามารถช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การวิเคราะห์ปัญหาการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น และทรัพยากรธรรมชาติจะมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางภูมิศาสตร์มาก 5. เศรษฐศาสตร์กับประวัติศาสตร์ การอาศัยเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นสิ่งช่วยอธิบายหรือคาดคะเนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคต เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาจเป็นสิ่งเตือนใจให้นักเศรษฐศาสตร์ระลึกว่า ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นจะมีสิ่งใดเกิดตามมาเพื่อจะได้รับเหตุการณ์นั้นได้ดียิ่งขึ้น 6. เศรษฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ การออกกฎหมายบางอย่างหรือโดยบางประเทศอาจมีส่วนจำกัดหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายสงวนอาชีพบางอย่าง หรือแม้แต่การตรากฎหมายภาษีอากร กฎหมายการค้า กฎหมายส่งเสริมการลงทุน การกำหนดอาณาเขตไมล์ทะเลระหว่างประเทศ เป็นต้น มีส่วนกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกี่ยวข้องในทำนองเดียวกัน การจะออกกฎหมายอะไรอาจต้องคำนึงถึงสถานะทางเศรษฐกิจว่าเมื่อออกกฎหมายแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนถึงประชาชนมากน้อยแค่ไหน 7. เศรษฐศาสตร์กับจริยศาสตร์ เนื่องจากศาสนามีอิทธิพลเหนือการกระทำของคนมานานแล้ว บทบัญญัติทุกศาสนาล้วนแต่สอนให้บุคคลมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบกัน สอนให้คนละเว้นความโลภ ถ้าจะมองในเชิงเศรษฐศาสตร์ หมายความว่า ศาสนาประณามการเอารัดเอาเปรียบกันในการค้าขาย เช่น การค้ากำไรเกินควร การปลอมแปลงสินค้าการให้กู้ยืมโดยเรียกดอกเบี้ยสูง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการทำนาบนหลังคนแบบหนึ่ง และเป็นผลเสียแก่เศรษฐกิจส่วนรวม ในปัจจุบันยังมีการนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์เข้ากับศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ประยุกต์เข้ากับโครงการทางวิศวกรรม ซึ่งจะเรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประยุกต์เข้ากับโครงการอุตสาหกรรม เรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม ประยุกต์เข้ากับโครงการทางสาธารณสุขเรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข รวมทั้งประยุกต์เข้ากับโครงการทางแพทย์เรียกชื่อว่าเศรษฐศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น

1 ความคิดเห็น:

  1. การบริหารจัดการทางการพยาบาล ในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ

    ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานและวิชาการ กองการพยาบาล ไทยเพิ่มสุข

    การบริหารงานฝ่ายการพยาบาล เป็นงานใหญ่ที่พยาบาล ผู้บริหาซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ และสถานีบริการย่อย แต่ละสถาบันจะต้องรับผิดชอบโดยสายงาน การบริหารโรงพยาบาล ฝ่ายการพยาบาลมีฐานะเทียบเท่ากับฝ่ายอื่นๆ ฝ่ายการพยาบาล อาทิ ฝ่ายอายุรกรรมและการแพทย์ ฝ่ายกิจกรรมและสันทนาการ ฝ่ายอำนวยการและการบริการ และฝ่ายนิติกรรม เป็นต้น ซึ่งการบริหารจัดการของแต่ละฝ่ายย่อมเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างของฝ่ายนั้น โดยจะต้องครอบคลุมงานทางด้านบริหาร บริการ และวิชาการ ซึ่งมุ่งเน้นหน้าที่ความรับผิดชอบ ทั้งในฝาย และประสานความร่วมมือกับฝ่ายอื่นในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ ที่เกี่ยวข้องในสถาบันด้วย

    ธรรมชาติของงานบริการพยาบาล (Nature of Nursing Services)
    งานบริการพยาบาลเป็นงานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ที่พยาบาลจะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแล ให้การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้น ให้การยาบาลตามการรักษา และอื่นๆ ในการบริหารงานห้องผุ้ป่วยพักฟื้น หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน และหน่วยงานตรวจพิเศษ กล่าวโดยทั่วไป ธรรมชาติของงานพยาบาลนั้น ซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ เป็นงานลักษณะของการเป็นแม่ เป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็ก หรือการเป็นแม่บ้าน ซึ่งจะต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว ฉะนั้น การพยาบาลในแง่มุมนี้ จะสามารถถ่ายทอดความรู้ และการปฏิบัติให้แก่ผู้ป่วย ญาติ และประชาชนได้ เพื่อตอบสนองนโยบาย และการพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นการสาธารณสุขมูลฐาน โดยให้การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ให้สามารถดูแลตนเองได้ ทางด้านพฤติกรรมอนามัย และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีคุณภาพขีวิต (Self-Care on Health Matters and Social Activities to Obtain a Better Quality of Life)

    ประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น เป็นงานทางด้านบริการที่พยาบาล และผู้บริหารการพยาบาล ถือเป็นหัวใจของงานวิชาชีพ (Heart of Nursing Profession) ที่จะต้องมีงานบริหารการพยาบาล และวิชาการพยาบาลมาประกอบให้การบริหารจัดการวิชาชีพพยาบาล ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนองตอบต่อนโยบายของสถาบัน และประเทศ รวมทั้งสนองความต้องการของประชาชน และผู้รับบริการด้วยกันในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ
    การบริหารจัดการวิชาชีพพยาบาล (Nursing Management)


    ดังได้กล่าวว่า การบริหารจัดการวิชาชีพพยาบาล ครอบคลุมงาน 3 ด้าน ได้แก่

    -งานด้านบริหารการพยาบาล
    -งานด้านการให้บริการพยาบาล
    -งานด้านวิชาการพยาบาลคือการ ฝึกอบรมสองเจ้าหน้าที่ทุกสายงานให้ดูแลผู้สูงวัยที่เป็น สมาชิกได้เป็นอย่างดีในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ

    1. งานด้านบริหารการพยาบาล เมื่อกล่าวถึงงานด้านบริหาร หลายท่านอาจจะโต้แย้งว่า ตนมิใช่ผู้บริหาร ไม่จำเป็นจะต้องเรียน ต้องรู้งานในด้านนี้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ควรทำความเข้าใจในประเด็นนนี้เป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะนำไปสู่งานด้านการให้บริการพยาบาล ซึ่งจะต่องเนื่อง และมีกระบวนการนำไปสู่จุด หรือเป้าหมายของการให้บริการพยาบาลด้วย



    สรุป การบริหารจัดการทางารพยาบาลในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ

    จากแนวคิดในเรื่องการบริหารจัดการทางาน พยาบาลในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ สามารถสรุปประเด็นให้เป็นหลักปฏิบัติแก่ผู้บริหารการพยาบาล และพยาบาลประจำการได้ว่า หัวใจของการบริหารจัดการทางการพยาบาล มุ่งความสำคัญในการบริหารกระบวนการพยาบาล (management of Nursing Process) ซึ่งนับว่า เป็นรากฐานนำไปสู่การบริหารการพยาบาลทุกระดับอย่างมีคุณภาพมากที่สุด ในการบริการ

    ฉะนั้น หากพยาบาลทุกคนสามารถบริหารกระบวนการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิผล ย่อมจะส่งผลให้เห็นเเด่นชัดว่า การบริหารจัดการทางการพยาบาลของการบริหารจัดการทางานพยาบาลในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ หรือสถาบันนั้นที่จะต้องมีในอนาคตนั้น ได้รับการยอมรับยกย่องจากผู้รับบริการ หรือผู้ป่วยพักฟื้น ซึ่งหากมีแกนการดำเนินงานในด้านพัฒนากระบวนการพยาบาลอย่างมีแบบแผน มีรูปแบบที่ชัดเจน และทุกคนต้อยึดถือปฏิบัติ ย่อมจะเชื่อมโยงไปยังคววามต้องการความรู้ในด้านการบริหารการพยาบาลในซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศ และความต้องการในด้านการพัฒนาตนเอง ให้สามารถนำความรู้ด้านวิชาการพยาบาลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการให้การพยาบาล แก่ผู้ป่วยและผู้มารับบริการ เมื่อดำเนินมาถึงจุดนี้ การบริหารจัดการทางการพยาบาลจะบรรลุเป้าหมายและได้ผลดีอย่างคาดไม่ถึง หากแต่ปัญหามีอยู่ว่า พยาบาล ผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้นและต่อยอดธุรกิจการพัฒนาโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็ก ไทยเพิ่มสุข ทั่วประเทศให้เข็มแข็งให้มากขึ้นต่อไปและต่อไป ครับ

    ตอบลบ