อโรคยาศาล ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเมืองพระ นครหลวง อาณาจักรขอมโบราณ มูลเหตุในการสร้างเพื่อใช้เป็นโรงพยาบาล ประจําชุมชน พบจํานวน 30 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Abstract Arogayasalas were built by Jayavarman VII, King of Khmer empire, around 19th Buddhist century. The objective of Arogayasala was to provide space for medical treatment for the community. Around 30 Arogayasalas were discovered in the northeastern region of Thailand. At present, evidence of Arogayasala is only its Chapel with standard elements. Its design represents medical treatment beliefs and religious worship concepts. Chapel of Arogayasala was built by laterite and sandstone. It is presumed that the medical treatment building was wood pavilion construction therefore its evidence is unidentified. This paper presents the change of Chapel of Arogayasala’s usage patterns by classify the analysis into three sessions. The first session is the usage pattern in the part period. It was found that there were two main areas. The first area was religious area, หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 49 Chapel of Arogayasala, which had many holy images on the sides. The second area was medical treatment area which was located on the north, outside the enclosure wall. The scope of medical treatment was extended to the surrounding community within a walking distance. The second session is the usage pattern in the overlapping period around 21st -24th Buddhist century. It was found that there was a new settlement in this area. The new ethnic still had faith in original monastery. The usage patterns of the Chapel of Arogayasals had been changed to Theravada Buddhism monastery. The new temples were built in this area. The new Buddha images were placed inside. People believed that this sacred area was the living place of the ancestral spirits or local gods. Therefore, no one occupied the place of worship for personal usage. The final session is the usage pattern in the present time. Chapel of Arogayasalas has monument. It has been used for special activities, such as, Srung-Ku ceremony and Worship ceremony, which have been held every year. The number of activities and its format are varied based on to the size of the community and host of the event .The activities is usually held annually on the Waxing (full moon) 15 evening of the 5th month according to the Thai lunar calendar. ความสําคัญของอโรคยาศาล อโรคยาศาลถูกสถาปนาขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพ่ือให้เป็น โรงพยาบาลประจําชุมชน ข้อความจากจารึกปราสาทตาพรหมที่เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชาพบว่า มีการสร้างอโรคยาศาลขึ้นโดยรอบราชอาณาจักรของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ท้ังสิ้นเป็นจํานวน 102 แห่ง 4 ปัจจุบันต้ังกระจายอยู่ตาม พื้นท่ีต่างๆ ทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางส่วนของ พื้นท่ีประเทศกัมพูชา สามารถวิเคราะห์ข้อสันนิษฐานวัตถุประสงค์ของการสร้างอโรคยาศาล ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ท่ี 1 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระองค์ทรงกําลังบาเพ ํ ็ญ โพธิสัตว์บารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในโลกให้พ้นทุกข์ตามคติความเชื่อของ 50 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 พุทธศาสนามหายาน หรือเชื่อว่าพระองค์ประชวรเป็นโรคเร้ือน เหตุผลท่ี พระองค์ทรงสถาปนาอโรคยาศาลทั่วราชอาณาจักรอาจเป็นเพราะพระองค์ ทรงมุ่งหวังว่าการบําเพ็ญพระกุศลในครั้งนี้จะช่วยให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 5 ทั้ง 2 มูลเหตุอาจมีการตีความที่แตกต่างกัน แต่การสถาปนาอโรคยาศาลของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ถือเป็นนโยบายท่ีสําคัญในรัชสมัยของพระองค์เป็นการ กระจายหลักประกันสุขภาพไปสู่ประชาชน ถือเป็นการถวายทานครั้งยิ่งใหญ่ ที่เป็นกุศโลบายไปพร้อมกับการเผยแพร่พุทธศาสนาที่สําคัญ รวมถึงเป็นการ สร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร ในจารึกกุฏิฤาษีเมืองพิมาย ได้บรรยาย ความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การสถาปนาอโรคยาศาลไว้ว่า “โรคที่เกิดขึ้นกับ ประชาชนก็เหมือนเกิดขึ้นแก่องค์พระราชา ในฐานะเป็นเจ้าเมือง ฉะนั้น หลังจากปราบกลียุคแล้วพระองค์จึงได้รวบรวมแพทย์หลวงจัดสร้างสถาน พยาบาลเพ่ือขจัดโรคของประชาชน” วัตถุประสงค์ท่ี 2 การสร้างศาสนสถานเพ่ือประดิษฐานรูปพระ โพธิสัตว์ไภษัชยสุคต หรือเป็นวิหารสําหรับพระเจ้า เปรียบเสมือนสถานที่ รักษาทางจิตใจเพื่อให้ผู้คนเข้ามาขอพร ถือเป็นการเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบ มหายานท่ีพระองค์ทรงศรัทธาไปท่ัวพระราชอาณาจักร ถือเป็นการเปลี่ยน แปลงความเชื่อดั้งเดิมที่มีอยู่ที่แต่เดิมน้ันพระมหากษัตริย์ในเมืองพระนคร และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาหลัก พบจารึกที่มี การกล่าวถึงอโรคยาศาลกว่า 10 หลักท่ีปรากฏข้อความใกล้เคียงกัน ที่บ่งชี้ถึง ลักษณะรูปเคารพภายในศาสนสถานประจําอโรคยาศาลของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ว่า “พระองค์ทรงได้สร้างโรงพยาบาลและรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชน ตลอดไป พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลนี้และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคต พร้อมด้วยวิหารของพระคุรุ” 6 รูปเคารพดังกล่าวถูกขุดพบในระหว่างการ บูรณะอโรคยาศาลเป็นจํานวนมาก โดยรูปเคารพท่ีพบในแต่ละแห่งจะมี รูปแบบและประติมานวิทยาที่ใกล้เคียงกัน เป็นรูปแบบศิลปะสมัยบายน สันนิษฐานได้ว่าการสร้างรูปเคารพดังกล่าวนั้นคงมีพิธีการสร้างอยู่ในเมือง พระนคร เมื่อสร้างเสร็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็โปรดพระราชทานไปประดิษฐาน ที่ศาสนสถานประจําอโรคยาศาลตามที่ต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร ซ้าย : พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา และพระ ชิโนรสทั้งสอง องค์จําลอง ที่ปราสาทพลสงคราม จังหวัดนครราชสีมา ที่มา : ทนงศักดิ์ หาญวงศ์ ขวา : พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาและพระ ชิโนรสทั้งสองสําริด พบที่ ปราสาทบันทายฉมาร์ ประเทศกัมพูชา ที่มา : Peter D. Sharrock et al, Banteay Chhmar, Twin hub of the Khmer Empire (Bangkok : River Books Co., Ltd., 2015). พระสุริยะไวโรจนะ? พบ ระหว่างขุดแต่งปราสาท ช่างปี่ จังหวัดสุรินทร์ใน พ.ศ. 2554 ที่มา : ห้างหุ้นส่วนจํากัด ปุราณรักษ์ หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 51 ในส่วนของรูปแบบศาสนสถานประจําอโรคยาศาลนั้น ท่ีปรากฏให้ เห็นอยู่ในปัจจุบันจะมีลักษณะที่เป็นมาตรฐาน แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนในส่วน รายละเอียดองค์ประกอบบางอย่างในแต่ละแห่งเล็กน้อย ตามลักษณะการใช้ งานในแต่ละพ้ืนที่ รวมถึงขนาดของศาสนสถานประจําโรงพยาบาล และ โรงเรือนท่ีรักษาจะมีขนาดที่แตกต่างกัน โดยจะสัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ ชุมชนที่ให้บริการ ในส่วนรูปแบบมาตรฐานของศาสนสถานประจําอโรคยาศาล จะประกอบไปด้วย ปราสาทประธานหน่ึงหลังตั้งอยู่กลางพ้ืนท่ี บรรณาลัย ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน อาคารทั้งสองจะ ถูกล้อมรอบด้วยกําแพงแก้ว มีทางเข้าออกหรือโคปุระด้านทิศตะวันออกเพียง แห่งเดียว ภายนอกทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสระน้ําประจําศาสนสถานขนาดเล็ก 7 ส่วนโรงเรือนรักษาพยาบาลที่ปรากฏในจารึก เช่น เรือน นอน บ้านพักเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เรือนปรุงและเรือนเก็บยา จากการ ขุดแต่งพ้ืนท่ีบริเวณกู่สันตรัตน์พบว่า พื้นที่ด้านทิศเหนือนอกแนวกําแพงแก้ว จะพบฐานหลุมเสา สันนิษฐานว่าเป็นฐานของกลุ่มอาคารเคร่ืองไม้ของอาคาร รักษาพยาบาล 8 อโรคยาศาลจึงถือเป็นหน่ึงในกลุ่มปราสาทชุมชนในสายวัฒนธรรม ขอมที่สําคัญ เปรียบเสมือนการรวมพื้นท่ีที่ใช้รักษาผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและ จิตใจควบคู่กันไป เป็นการรักษาโรคแบบแผนโบราณผสมผสานความสัมพันธ์ ของความเชื่อต่อการเคารพพระพุทธเจ้า แม้ว่าตัวอาคารท่ีปรากฏให้เห็นจะมี ขนาดเล็ก แต่จากรูปแบบที่เป็นมาตรฐานและรูปเคารพประดิษฐานภายใน ที่สอดคล้องกับแนวความคิดในการสร้างเพื่อใช้บําบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ ประชาชน จึงทาให ํ ้พื้นท่ีดังกล่าวเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

1 ความคิดเห็น:

  1. ดร. สมัย เหมมั่น ประธารบริหารโครงการ
    นาย วินิช ชัชวาลย์ ที่ปรึกษาโครงการด้านเทคนิค
    นาย ชัยวุฒิ แสงมณี ที่ปรึกษาโครงการด้านการเงิน
    นาย ชิตโชค สิงหรา ที่ปรึกษาโครงการด้านกฎหมาย
    สมาคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนองเสือ ที่ปรึกษาปรัชญา
    D – HOUSE GROUP กลุ่มนักวิจัยและแผนธุรกิจโครงการ
    บริษัท ไทยเพิ่มสุข จำกัด บริหารโครงการ
    บริษัท ระนองเพิ่มสุข จำกัด บริหารการก่อสร้าง
    บริษัท ไทยซีเนียร์คอมเพล็กซ์ จำกัด บริหารงานก่อสร้าง
    บริษัท อุตสาหกรรมเมืองมหาชัยและอสังหาริมทรัพย์ จำกัด บริหารงานนิติบุคคล
    และคณะ บริหารร่วมทุนโครงการ
    1.พลโท สัมพันธ์ ศรีราชบัวผัน ประธานบริหาร ฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ร่วมค้าไทย+จีน
    2.นาย อัครพงษ์ วงศ์จินดาโชติ ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์ 3.นส.ธัญญาภัทร์ ปัญญา รองประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท ร่วมค้าไทย+สิงคโปร์
    4.นาย มูซา สุนหลัก ประธานบริหาร ฝ่ายการเงินการลงทุน บริษัท กระบี่เพิ่มสุข กรุ๊ป จำกัด

    ตอบลบ